“เพชรชมพู”ยกบทเรียนสิงคโปร์แพ้สงคราม ปลุกคนทั้งชาติร่วมใจปกป้องประเทศ

“เพชรชมพู”ยกบทเรียนสิงคโปร์แพ้สงคราม ปลุกคนทั้งชาติร่วมใจปกป้องประเทศ

น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ​บัญชี​รายชื่อ ​พรรค​รวม​พลัง​ประชาชาติ​ไทย​ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ส่วนตัว นำเสนอมุมมอง ประสบการณ์ของประเทศสิงคโปร์เกี่ยวกับความมั่นคง การปกป้องประเทศ ที่รัฐบาล กองทัพ คนในประเทศต่างพร้อมใจกันให้ความสำคัญ โดยมีข้อความว่า

ความมั่นคงของชาติ​ ต้องมองหลายด้าน​ หลายมิติ ​

ช่วงนี้มีคนพูดถึงเรือดำน้ำ​ งบประมาณ​ของประเทศ​ และ​ ยุทธศาสตร์​ความมั่นคง​ของประเทศกันมาก​ เพชรเลยขออนุญาต​มาเล่าถึงประสบการณ์​ที่เพชรได้เรียน​รู้ตอนที่เพชรเรียนอยู่ที่สิงคโปร์​ที่เกี่ยวกับ​ความมั่นคงมาให้ฟังกันค่ะ

ตอนที่เพชรอยู่ชั้นมัธยมฯ​ ที่สิงคโปร์​ เพชรจำได้ว่า​ วันหนึ่งที่ได้รับความสำคัญ​มากๆ​ ในปฏิทิน​ของโรงเรียนคือวันที่​ 15​ กุมภาพันธ์​ ของทุกปี หรือวันที่เขาเรียกกันว่า​ “Total Defence Day” เป็นวันที่ชาวสิงคโปร์​ระลึก​ถึงวันเดียวกันในสมัยสงครามโลก​ครั้งที่​ 2 ที่สิงคโปร์​ถูกญี่ปุ่น​ยึดครองได้สำเร็จ​

จุดประสงค์​หลักของ​การกำหนดให้มีวันหนึ่ง​ของปีเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์​ในประวัติศาสตร์ครั้งนี้​โดยเฉพาะ​ ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำว่า​ จะเกิดอะไรขึ้นหากชาวสิงคโปร์​ไม่ร่วมมือ​ร่วมใจกันในการปกป้องประเทศ​ และเป็นการกระตุ้น​ให้ประชาชนตระหนัก​ถึงความสำคัญของทุกคน​ ไม่ว่าจะเป็นทหาร​ หรือ​ พลเรือน​ ในการเสริมสร้างให้ชาติมั่นคง​ ปลอดภัย​ และไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใครอีก

Total Defence หรือ​ การป้องกันประเทศ​แบบครอบคลุมทุกรูปแบบ​ แบ่งออกเป็น​ 6 ด้านด้วยกัน​ คือ​ การทหาร​ พลเรือน​ เศรษฐกิจ​ สังคม​ จิตวิทยา​ และ​ ดิจิทัล​ (Military, Civil, Economic, Social, Psychological and Digital) หากขาดด้านใดด้านหนึ่งไป​ ก็จะกลายเป็นช่องโหว่​ให้ถูกโจมตีได้

Military Defence คือ​ การสร้างความเข้มแข็ง​ให้กับกองทัพ​ ให้มียุทโธปกรณ์​ และกองกำลัง​ที่เข้มแข็ง​และทันสมัย​ มีการฝึกซ้อม​สม่ำ​เสมอ​เพื่อเตรียม​ความพร้อม​ในการรับมือทุกสถานการณ์​ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจ​กับคนในชาติ​ให้สนับสนุน​ภารกิจ​ของกองทัพ​ และร่วมเป็นขวัญ​กำลัง​ใจ​ให้กับสมาชิกในครอบครัว​ หรือเพื่อนร่วมชาติที่เป็นทหารเกณฑ์​ หรือเป็นกำลัง​พลสำรอง

Civil Defence คือ​ การ​เตรียม​ความพร้อมให้พลเรือน​ในการตอบสนองต่อภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ​ โดยเฉพาะ​ในสถานการณ์​ที่ทรัพยากร​ของรัฐอาจถูกบีบคั้น​ และอาจจะกระจายไปไม่ทั่วถึง​ ต้องอาศัยความร่วมมือ​ของชุมชน​ และองค์กร​ในพื้นที่ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน​ เพื่อให้ชาติรอดพ้นจากภัยคุกคามนั้นๆ​ และฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น

Economic​ Defence​ คือ​ การเพิ่มขีดความสามารถ​ทางการแข่งขัน​ให้กับผู้ประกอบการ​ในประเทศ​อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง​ การเสริมทักษะ​ใหม่ๆ​ และ​พัฒนา​ทักษะ​ที่มีอยู่เดิม​ (reskill and upskill) ให้กับแรงงาน​ เพื่อที่จะดึงดูด​นักลงทุน​ และทำให้ระบบเศรษฐกิจ​ยังคงเชื่อมโยงกับโลกได้​ไม่ว่าจะในสภาพแวดล้อม​แบบไหน

Social Defence คือ​ การสร้างความเชื่อใจระหว่างกลุ่มต่างๆ​ ในสังคม​ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทั้งเวลาและการเปิดใจต่อกัน​ เพื่อแสวงหาจุดร่วม​ และสงวนจุดต่าง​ รวมถึงช่วยเหลื​อเพื่อนร่วมชาติ​ในสถานการณ์​ต่างๆ​ โดยไม่ได้คำนึงถึงเพศ​ อายุ​ ศาสนา​ สถานะทางเศรษฐกิจ​และสังคม​ ​หรือ​ ความคิดเห็​นทางการเมือง

Psychological Defence คือ​ เจตจำนงร่วมกันของประชาชนที่จะรักษา​วิถีชีวิต​ และความเป็นชาติไว้​ ไม่ว่าภัยคุกคาม​จะมาในรูปแบบใด​ ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจ​ถึงอัตลักษณ์​ของชาติ​ เรียน​รู้ถึงประวัติศาสตร์​ และค่านิยม​ต่างๆ ที่ทำให้ประเทศ​สามารถ​ยืนหยัด​มาได้จนถึงทุกวันนี้

Digital​ Defence​ คือ​ การรู้เท่าทันภัยคุกคาม​ทางดิจิทัล​ และการมีความรับผิดชอบ​ต่อข้อมูล​ข่าวสาร​ที่เราจะส่งต่อให้ผู้อื่น ปัจจุบัน​มีข่าวปลอมหรือข้อมูล​ที่คาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง​ในโลกออนไลน์​มาก​ ที่อาจจะสร้างความตื่นตระหนก​ และความเสียหายต่อประเทศ​ได้​ ประชา​ชนต้องตระหนัก​ว่าทุกคนถือเป็นด่านแรกในการป้องกัน​ประเทศ​ด้านดิจิทัล​ และต้องไม่ตกเป็น​เหยื่อ​ของข่าวเหล่านั้น

โดยสรุปแล้ว​ Total​ Defence​ คือแนวคิดที่ว่า​ การป้องกันประเทศ​ จะสำเร็จ​ได้ก็ต่อเมื่อทุกคนในประเทศ​มีส่วนร่วม​ ทุกหน่วยงาน​ตื่นตัว​และทำตามภารกิจ​ที่ได้รับมอบหมาย​ ส่วนประชาชน​ให้การสนับสนุน​ และ​ เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างความเข้มแข็ง​ มั่นคง​ให้กับประเทศ​

เมื่อเราพูดถึงยุทธศาสตร์​ความมั่นคง​ของประเทศ​ เราคงไม่สามารถ​ละเลย​ด้านใดด้าน​หนึ่ง​ไปได้​ ในยุคสมัยที่มีภัยคุกคาม​ทั้งแบบดั้งเดิม​ เช่น​ ทางการทหาร​ และ​ เศรษฐกิจ​ และ​ ในรูปแบบใหม่​ เช่น​ ทางวัฒนธรรม​ และโรคระบาด​ เราจำเป็น​ที่จะต้องเต็มที่กับทุกด้าน​ ท้ายที่สุดแล้ว​ การเตรียมพร้อม​ไว้​ แล้วไม่มีความจำเป็น​ต้องใช้​ ดีกว่าจำเป็นต้องใช้​ แล้วไม่มีทั้งเครื่องมือทั้งทักษะ​ในการตอบโต้​ค่ะ

เพชร​ชมพู​ กิจ​บูรณะ

28 สิงหาคม​ 2563

<a href="http://<iframe src="https://web.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fweb.facebook.com%2Fp.kijburana.page%2Fposts%2F3219498241452220&width=500" width="500" height="784" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowTransparency="true" allow="encrypted-media">http://<iframe src=”https://web.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fweb.facebook.com%2Fp.kijburana.page%2Fposts%2F3219498241452220&width=500″ width=”500″ height=”784″ style=”border:none;overflow:hidden” scrolling=”no” frameborder=”0″ allowTransparency=”true” allow=”encrypted-media”></iframe>

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม