ป.ป.ช. ฉะเชิงเทรา และคณะกรรมการจิตพอเพียงต้านทุจริตร่วมกับ เขตพื้นที่ภาคกลาง มุ่งสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

ป.ป.ช. ฉะเชิงเทรา และคณะกรรมการจิตพอเพียงต้านทุจริตร่วมกับ เขตพื้นที่ภาคกลาง มุ่งสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต (สสร.) จัดโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต แผนงานสนับสนุนการบริหารโครงการและการติดตามประเมินผล กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต (ภาคกลาง) สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เพื่อเป็นการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้ง ความอายและไม่ทนต่อการทุจริต สร้างเครือข่ายประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม 2563 ณ แกรนด์ ริชมอนด์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้มีการวิเคราะห์ภาพอนาคตของประชาชนและสังคมไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้าไว้ว่า หากยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการนำไปปฏิบัติจริง ประชาชนไทยจะมีความตื่นตัวต่อการทุจริตมากขึ้น มีการให้ความสนใจต่อข่าวสารและตระหนักถึงผลกระทบของการทุจริตที่มีต่อประเทศมากขึ้น สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กำหนดแนวทางการดำเนินการของโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และเน้นการเพิ่มความเข้มแข็งของชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต โดยร่วมบูรณาการกับเครือข่ายอื่นในพื้นที่ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. คาดหวังให้ชุมชนเกิดจิตพอเพียงต้านทุจริต โดยร่วมกันมุ่งพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการประยุกต์และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เข้ากับการสร้างความโปร่งใส การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม ตระหนักรู้และใฝ่รู้ปัญหาการทุจริต รวมทั้งร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มีความเอื้ออาทรบนพื้นฐานของจริยธรรมและจิตพอเพียง อีกทั้งเกิดการป้องปรามการทุจริตในชุมชน ส่งผลให้การทุจริตเกิดได้ยากมากขึ้น ตลอดจนเกิดเครือข่ายชุมชนจิตพอเพียงต้านทุจริต และเป็นแกนนำสร้างวัฒนธรรมไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตพอเพียงต้านทุจริต ด้วยโมเดล STRONG และเพื่อเป็นการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความอายและไม่ทนต่อการทุจริต แก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด ขยายผลการป้องกันการทุจริตเชิงรุกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด และขยายผลการรับรู้การทุจริตต่อประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ หรือชมรมอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ โดยไม่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ตลอดจนผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตด้วยการกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการระดับพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย โค้ชชมรม ประธานชมรม กรรมการชมรม สมาชิกชมรม เยาวชนแกนนำ จากชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตประจำจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. และผู้สังเกตการณ์
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. คาดหวังว่าชุมชนจะมีจิตพอเพียงต้านทุจริต โดยการมุ่งพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการประยุกต์และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เข้ากับการสร้างความโปร่งใส การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม ตระหนักรู้และใฝ่รู้ปัญหาการทุจริต รวมทั้งร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มีความเอื้ออาทรบนพื้นฐานของจริยธรรมและจิตพอเพียง เกิดการป้องปรามการทุจริตในชุมชน ส่งผลให้การทุจริตเกิดได้ยากมากขึ้น รวมถึงเกิดเครือข่ายชุมชนจิตพอเพียงต้านทุจริต และเป็นแกนนำสร้างวัฒนธรรมไม่ทนต่อการทุจริต และเกิดการขับเคลื่อนโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตต่อไป
จิตพอเพียงต้านทุจริต เขตพื้นที่ภาคกลาง มุ่งสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

…..สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สท่ิข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม