(สศยท)ร่วมสภาการยางแห่งประเทศไทย จัดเสวนา การขับเคลื่อนผู้ผลิตถุงมือยางไทยสู่โปรดักแชมป์เปี้ยน

(สศยท)ร่วมสภาการยางแห่งประเทศไทย จัดเสวนา การขับเคลื่อนผู้ผลิตถุงมือยางไทยสู่โปรดักแชมป์เปี้ยน

(สศยท)ร่วมสภาการยางแห่งประเทศไทย จัดเสวนา การขับเคลื่อนผู้ผลิตถุงมือยางไทยสู่โปรดักแชมป์เปี้ยน

วันที่ 9 ต.ค.2563 นายจิตรกร ลากุล นายกสมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อยางพาราและเกษตรไทย(สศยท)ได้พูดถึงภาพรวมในอุตสาหกรรมถุงมือยางในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องระวังคือ “จากโอกาสของประเทศไทย อาจจะกลายเป็นวิกฤติได้ ” เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เป็น เทรนด์และเป็นเรื่อง Talk of the town  เพราะมีความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกสูงมาก จนทำให้มีผู้ที่อยากเข้ามาทำกำไรในธุรกิจนี้ จนเกิดการหลอกลวง เก็บเงินมัดจำเป็นจำนวนหลายล้านบาท และมีข้อมูลเกี่ยวกับราคาซื้อขายที่ไม่เป็นความจริง มีการอ้างว่ามีถุงมือยางอยู่ในสต๊อกหรือโค้วต้าถุงมือยางของโรงงานที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยสามารถมาซื้อได้  แต่จริงๆแล้วไม่มี และบางเจ้าเอาถุงมือยางเก่าหรือไม่มีคุณภาพมาหลอกขาย ตามข่าวที่ผ่านมา ทุกท่านคงเคยได้ยินกันมาแล้ว ทำให้เกิดความเสียหายหรือบิดเบือนข้อมูลที่เป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ ทางสมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อยางพาราและเกษตรไทย(สศยท) และนายอำนวย ปิติเส (อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์) ปัจจุบันเป็นประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย ร่วมจับมือกันเสนอตัวในการเข้ามาช่วยตรวจสอบและเป็นองค์กรรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อประสานกับหน่วยของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาจัดการ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียต่อประเทศไทยต่อไป ส่วนเรื่องความเป็นไปได้ หรือการผลักดัน เรื่อง”ทำอย่างไรให้ถุงมือยางเป็นโปรดักเแชมป์เปี้ยน” เพื่อจะได้นำเงินเข้าประเทศไทยให้มากและเร็วที่สุด เพราะถ้าเราร่วมมือกันผลักดัน จะมีเงินเข้าประเทศเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน ซื่งสมาคมการค้าเศรษฐกิจฯและสภาการยางแห่งประเทศไทย เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรมองข้ามและควรตั้ง (กรอ) คณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกถุงมือยาง ให้เร็วที่สุด แต่ต้องตั้งมาเพื่อส่งเสริม ระวังอย่าให้คนและระบบของภาครัฐเข้าทำให้เจตนาความหวังดีเปลี่ยนเป็นมากีดกัน ทำงานยากขึ้น และมาแสวงหาผลประโยชน์กันเอง

นายจิตรกร ลากุล นายกสมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อยางพาราและเกษตรไทย (สศยท.) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผมมองว่าปัจจัยเริ่มต้นของความสำเร็จของอุตสาหกรรมจะนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ1.โรงงาน  2.เงินทุน  3.ตลาด ตอนนี้มีโรงงานผู้ผลิตถุงมือยางเก่าขนาดกลางและเล็ก เข้ามาร่วมโครงการนี้กับ(สศยท)ตอนนี้หลายโรงแล้ว เราโฟกัสไปที่การเพิ่มกำลังผลิตของกลุ่มนี้ก่อน เพราะมีประสบการณ์ มีเอกสารใบเซอร์พร้อมส่งออก ขาดแต่เงินทุนบางส่วนและตลาดผู้ซื้อหน้าใหม่จริง ๆ ส่วนผู้สนใจที่จะเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานใหม่จะต้องใช้เวลานานกว่า ทางเราก็ให้ความปรึกษา และสนับสนุนร่วมเหมือนกันเพราะสามารถเพิ่มการผลิตในเฟสที่ 2 ได้ต่อเนื่อง ส่วนของเงินทุน(สศยท) จะเป็นตัวกลางในการประสานกองทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพในการระดมทุนให้ และจะนำทีมเข้าปรึกษาท่านณกรณ์  ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยและท่านสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านช่วยผลัดดันและถ้าเป็นไปได้ อาจจะขอเข้าพบท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เพื่อให้กำลังใจท่านในการทำงานหนักเพื่อประเทศ และเสนอเรื่องให้ท่านนายกรัฐมนตรีช่วยผลักดันให้เกิดการส่งเสริมขึ้นอย่างจริงจังและต้องเกิดขึ้นอย่างเร็วด้วยเพื่อให้ทันกับสถานการณ์โลก

ส่วนด้านการตลาด เราจะอาสาเป็นตัวแทนทำงานร่วมกับผู้ประกอบการผู้ผลิตถุงมือยางและภาครัฐ เข้าพบฑูตพานิชย์ เพื่อประสานขอความร่วมมือหาวิธีทราบว่า ความต้องการถุงมือยางที่แท้จริงของแต่ละประเทศนั้นๆ และถ้าเป็นไปได้เราจะขอให้ทางท่านฑูตพานิชย์ช่วยประชาสัมพันธ์ถึงจุดแข็งและความสามารถในการเป็น ฮับของการผลิตถุงมือยางหรือแนะนำให้องค์กรที่มีความต้องการถุงมือยางของแต่ละประเทศ  ให้ดิวตรงกับโรงงานผู้ผลิตในประเทศไทยโดยไม่ต้องผ่าน middlemans หรือพ่อค้าคนกลาง เพราะ(สศยท)มองตัวเองเป็น Platform ที่มีความต้องการเป็นศูนย์กลางของภาคเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมกับภาครัฐเพื่อ ให้เกิดประโยชน์ กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมถุงมือยาง สามารถดิวกันโดยตรง  โดยสมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิตอลฯและสภาการยางแห่งประเทศไทยจะช่วยกันตรวจสอบ และคัดเลือกโรงงาน , ผู้ประกอบการ ,เงินทุน และผู้ซื้อ ที่เป็นของจริงเท่านั้น เพื่อการเชื่อมโยงกันให้เกิดประโยชน์ ในการส่งเสริมการผลิตถุงมือยางในประเทศไทยให้ถุงมือยางเป็นโปรดักแชมป์เปี้ยนและให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก.

ภาพ-ข่าว ณัฐพงศ์ อรชร ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม